โดย จักรพงษ์ เมษพันธุ์
“อิสรภาพทางการเงิน” หรือ Financial Freedom เป็นคำที่ฮิตและนิยมพูดถึงกันมากในช่วงเวลา 10 ปีที่ผ่านมา เรียกได้ว่าในปัจจุบัน เด็กรุ่นใหม่พอเรียนจบปุ๊บก็เริ่มร้องหาคำๆนี้กันทันทีตั้งแต่เริ่มทำงาน
โดย ส่วนตัวจำความได้ว่า คำๆนี้เป็นที่ถวิลหาของทุกคน ไม่นานนักหลังจากที่หนังสือพ่อรวยสอนลูกของโรเบิร์ต คิโยซากิ ออกวางจำหน่ายในเมืองไทยราวปี พ.ศ. 2543 (ค.ศ. 2000) โดยนิยามที่คิโยซากิให้ไว้สำหรับคำว่า อิสรภาพทางการเงิน ก็คือ การที่ คนเรามีรายได้จากทรัพย์สิน (ตราสารการเงิน อสังหาริมทรัพย์ ธุรกิจ และอื่นๆ) มากกว่ารายจ่ายรวม
ฟังดูแล้วก็ไม่ น่าจะยากเย็นอะไร แต่ในความเป็นจริงแล้วไม่ง่ายอย่างที่คิด แถมคนส่วนใหญ่ยังชอบทำให้มันเป็นอะไรที่เกินเอื้อม โดยมองข้ามอิสรภาพทางการเงินที่ทำได้ง่ายๆใกล้ตัว
จริงๆแล้ว คำว่า “อิสรภาพทางการเงิน” นั้น ประกอบด้วย 3 ส่ิงสำคัญรวมอยู่ด้วยกัน ได้แก่ รายได้ เวลา และอิสระในการเลือก เพื่ี่อ ให้ได้มา ซึ่งสิ่งสำคัญในการดำรงชีวิต นั่นก็คือ “ความสุขแท้” (ไม่ เทียม ไม่ปรุงแต่ง) และมันจะเรียกว่าอิสรภาพทางการเงิน ไม่ ได้เลย ถ้าขาดสิ่งใดส่ิงหนึ่งในสามสิ่งนี้ไป
อย่างไรก็ดี ต้องยอมรับว่าในปัจจุบัน คนส่วนใหญ่ยังตีความหมายและองค์ประกอบของอิสรภาพทางการเงินแบบหลงทาง ทำให้ท้ายที่สุด มัวแต่เสียเวลาอยู่กับมัน และคิดเอาเองว่ากำลังเดินทางสู่อิสรภาพทางการเงิน โดยที่ไม่เคยลองหยุดคิด หยุดดู หรือหยุดถามตัวเองเลย
เพื่อให้ท่านมองเห็นและเข้าใจคำ ว่าอิสรภาพทางการเงินกันดีขึ้น วันนี้ผมมีคำอธิบายความที่ตกผลึกจากการเดินทางบนเส้นทางนี้มากว่า 10 ปี แลกเปลี่ยนกันครับ
- รายได้
ด้วย คำว่า “หยุดทำงานได้” นี่กระมัง ที่ทำให้คนเรามองว่ารายได้ที่จะต้องมาสนับสนุนอิสรภาพทางการเงินนั้น จะต้องมากมาย (หรือแยะ) ในความเป็นจริงแล้ว ถ้ามองโจทย์ดูดีๆ ก็จะพบว่า โจทย์ที่แท้จริง คือ “รายจ่าย” ไม่ใช่รายได้ ดังนั้นคนที่อยากมีอิสรภาพทางการเงินต้องตั้งโจทย์ให้ถูกเสียก่อนว่า รายจ่ายที่ตรงกับไลฟ์สไตล์เรานั้นเป็นเท่าไหร่
สังเกตจะเห็น ว่าผมขีดเส้นใต้คำว่า “ไลฟ์สไตล์เรา” หรือรูปแบบการดำเนินชีวิตที่ต้องการ เพราะมันต้องเป็นของเราจริงๆ เป็นสิ่งที่เราคิดได้เอง ไม่ใช่ยืมคนอื่นมา บ้านหลังใหญ่ รถยนต์คันงาม ท่องเที่ยวต่างประเทศ ที่อยู่ในความคิดของเรามาโดยตลอด อาจเป็นรายจ่ายที่มาจากฝันที่หยิบยืมมาจากคนอื่นก็ได้ ดังนั้นต้องนั่งลงคุยกับตัวเอง คุยกับคนที่รัก แล้วออกแบบไลฟ์สไตล์ของตัวเองจริงๆ เพื่อนำไปสู่รายจ่ายที่เป็นโจทย์ของอิสรภาพทางการเงินของคุณเอง
ไม่ แน่นะครับ ถ้าคุณได้นั่งคุยกับตัวเองจริงๆ คุณอาจพบว่า โจทย์ของอิสรภาพทางการเงินของคุณง่ายกว่าที่คาดคิดไว้ก็ได้
2. เวลา
คนส่วนใหญ่เชื่อกันว่า ที่ทุกวันนี้คนเราต้องดิ้นรนทำงานหนักกัน ก็เพราะเพื่อต้องการให้มีเงิน และเมื่อมีเงินก็จะมี “เวลา”ตามมา ซึ่งเมื่อถึงจุดนั้นก็จะสามารถใช้เวลากับคนที่เรารักและสิ่งที่เรารักได้
คำ ถามคือ แล้วถ้าสุดท้ายแล้วไอ้เจ้าเป้าหมายด้านรายได้ของคุณมันไปไม่ถึงจุดที่ต้อง การหละ จะทำอย่างไร? แล้วทำไม? “เวลา” ต้องเดินตามหลัง “เงิน” มันอยู่ข้างหน้าหรือไปด้วยกันได้ไหม
ทำไม? ต้องมีเวลากับลูก กับคนที่เรารักน้อยลงเพื่อเงิน ใช้เวลา 10 ปี 15 ปี เพื่อให้ได้เงิน ถ้าได้ตามเป้าหมายจริงๆ แล้วจะมีเวลาให้สิ่งที่รักจริงหรือเปล่า หรือว่าก็ต้องทำงานหนักต่อ เพราะอยากได้เงินเพิ่ม แล้วถ้าไม่ได้หละ เวลาที่สูญเสียไปกับการตามหารายได้ จะคืนให้คนที่รัก และส่ิงที่เรารักได้อย่างไร
ในมุมมองของผม คนที่จะประสบความสำเร็็จมีอิสรภาพทางการเงินที่แท้จริง ควรแบ่งเวลาให้กับทุกมิติอย่างเหมาะสม มีประสิทธิภาพ และที่สำคัญ คือ “มี ความสุข”
ถ้าคุณได้ลองจัดแบ่งเวลาดีๆ คุณจะพบว่า เวลา เพียงแค่ 10% ของแต่ละวัน ก็เพียงพอแล้วที่จะทำให้คุณประสบความสำเร็จมีอิสรภาพทางการเงิน ดัง นั้น จงอย่าเสียเวลากับกับเงินและความสำเร็จให้มากไปกว่านั้น เอาเวลาที่เหลือไปอยู่กับคนที่เรารัก และสิ่งที่เราชอบดีกว่าครับ
3. อิสระในการเลือก
ด้วยเหตุที่เอา “เงิน” เป็นตัวตั้ง คนเราจึงต้องยอมทำอะไร หรือยอมเป็นอะไรที่ตัวเองไม่ชอบ เพียงเพื่อให้มีเงินมีรายได้ ซึ่งนั่นเป็นส่ิงที่ไม่สนุกเลย บางคนเชื่อว่า คนเราทุกคนต้องยอมทำในสิ่งที่ไม่ชอบก่อน แล้วจึงจะได้สิ่งที่ชอบในภายหลัง จริงหรือที่ชีวิตต้องเป็นอย่างนั้น
ในมุมมองของผม คำว่าอิสรภาพทางการเงิน จะไม่มีความหมายอะไรเลย ถ้าเราต้องทำในสิ่งที่ไม่อยากทำ เป็นในส่ิงที่ไม่อยากเป็น ดังนั้น ต้องถามตัวเองให้ดีก่อนว่า การที่คุณเลือกทำ เลือกเป็นไม่ได้ในวันนี้ เป็นเพราะพันธนาการอะไรที่คุณสร้างไว้หรือเปล่า ซึ่งมันอาจเป็นพันธนาการทางความคิด พันธนาการทางการเงิน หรืออะไร ก็ตามที่รั้งโอกาสในการเลือกของคุณไว้ ไม่ได้คุณได้เป็น ได้ทำ ในส่ิงที่ต้องการ
จะเห็นได้ว่าปัญหาของคนที่ดำเนินชีวิตเพื่อ อิสรภาพทางการเงินนั้น เกิดจากสาเหตุง่ายๆก็คือ จัดลำดับส่ิงสำคัญในชีวิตผิด เพราะเลือกเรียงลำดับจาก รายได้ – เวลา – อิสระในการเลือก
ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว หากคนต้องการพบอิสรภาพทางการเงินที่แท้จริง ท่านจะต้องเรียงลำดับองค์ประกอบเสียใหม่เป็น อิสระในการเลือก – เวลา – รายได้
สร้างอิสระในการเลือก โดยไม่สร้างพันธนาการทางการเงิน กำหนดจัดสรรเวลาให้กับทุกส่ิงทุกอย่าง และทุกมิติรอบตัว จากนั้นก็ทำในส่ิงที่รักเพื่อสร้างมันให้เป็นทรัยพ์สิน อันจะสร้างกระแสเงินสดให้กับชีวิตของเราได้ต่อไป ภายใต้เป้าหมายสำคัญ คือ “มี ความสุขตลอดการเดินทาง”
เพียงเท่านี้อิสรภาพทางการ เงินก็จะอยู่กับท่านได้ตั้งแต่เริ่มเดินทาง ระหว่างเดินทาง ไปยันถึงปลายทางของชีวิตแล้ว
“อิสรภาพทางการเงิน เริ่มต้นได้เมื่อใจคุณมองเห็น”